Mon Ing Suk Eco-Stay บ้านอิงสุข เรือนไม้ ตั้งบนเนินดินยกสูง

Mon Ing Suk Eco-Stay บ้านอิงสุข

ลึกเข้าไปในบริเวณทางเข้าอุทยานแห่งชาติออบขาน เป็นที่ตั้งของเรือนไม้ยกพื้นขนาดกะทัดรัด ผลลัพธ์จากวิธีคิดและปฏิบัติงาน ที่ทีมยางนาสตูดิโอ ต้องการใช้โจทย์นี้สร้างสถาปัตยกรรมเชิงทดลอง ที่ยังสามารถแสดงถึงทักษะเชิงช่างในแนวทางของยางนา สตูดิโอ ภายใต้ข้อจำกัดของ ที่ตั้งและงบประมาณการก่อสร้าง ถือเป็นตัวกำหนดลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อรูปขึ้น

เรือนไม้ยกพื้นระดับเรี่ยดิน ตั้งบนเนินดินยกสูง ถูกนำเอารูปแบบมาจาก ”ขนำ” หมายถึงเพิงที่พักชั่วคราวสำหรับชาวสวนในภาคใต้ของไทย สามารถใช้สอยพื้นที่ภายในเพื่อพักอาศัยและใช้พื้นที่บริเวณรอบตัวบ้านให้เกิดกิจกรรมอื่นๆได้ พื้นที่ใช้งานประกอบไปด้วยชานทางเดิน ทอดตามแนวยาวของเรือน มีบันไดขึ้น-ลงสองฝั่ง บริเวณลานดินระดับความสูงของชานทำหน้าที่เป็นพื้นที่นั่งพักอีกทั้งยังเชื่อมพื้นที่ส่วนครัว,ห้องน้ำ เติ๋น เข้าด้วยกันและบันไดทางขึ้นหลักทำหน้าที่แบ่งห้องพักทั้งสอง เพื่อความเป็นส่วนตัวและระบายอากาศ ทำหน้าที่เป็นอุโมงค์ลมจากทิศใต้-เหนือ เติ๋นที่ยกระดับขึ้นเพื่อทำกิจกรรมหน้าห้องพักหลัก แยกจากห้องพักรองที่สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานตามอเนกประสงค์ มี “เตาไฟ” เป็นพื้นที่ใจบ้าน สำหรับล้อมวงพูดคุยแลกเปลี่ยน รวมถึงการทำอาหาร เชื่อมความสัมพันธ์ของผู้อยู่อาศัยเข้าด้วยกัน

.

.

.

สัดส่วนของโครงสร้างไม้และรายละเอียดของวัสดุอื่นๆ ถูกประกอบด้วยเทคนิคการก่อสร้างพื้นฐานทั้งหมด ทั้งงานไม้เก่าที่ตั้งใจ”ละ”การทาเคลือบปิดผิวไม้ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนไปตามธรรมชาติของวัสดุและคงผิวสัมผัสเดิมไว้ ไผ่ซางหม่น ถูกแปรรูปด้วยขวาน(มุย)และมีด เป็นไผ่สับฟาก มาเป็นส่วนประกอบของลูกฟักบานประตูและหน้าต่าง การนำบานประตูไม้เก่า กลับมาใช้ใหม่(Reuse) วัสดุก่อสร้างหลักอื่นๆเช่นผนังอิฐบล็อค รวมถึงกระเบื้องหลังคา ล้วนเป็นวัสดุที่หาได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและซ่อมแซมในอนาคต วัสดุประเภทเหล็กจากร้านขายของเก่า นำมาดัดแปลงให้เกิดการใช้สอยใหม่ (Recycle) ไม่ว่าจะเป็นเสารับโครงหลังคา ราวจับบันไดกันตก รางแขวนโคมไฟ รางระบายน้ำในห้องน้ำรวมไปจนถึงของตกแต่งภายใน ที่มีการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ จากตลาดของเก่ามือสอง(กาดหนองฮ่อ) มาจัดวางเพื่อตกแต่งและใช้งานจริง ทางลงสู่ลานดิน มีการนำเสาไม้เก่ามาขุดด้วยขวาน บากเป็นขั้นบันได เป็นลักษณะจากเรือนพื้นถิ่นลาว เวียดนาม ที่นำมาประยุกต์วางลงบนฐานหินที่ได้จากลำน้ำที่เลียบไปกับแนวที่ดิน

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

Project location : Nam Phrae, Hang Dong District, Chiang Mai, Thailand
Building Type : Wood House
Completion Year : 2022
Area : 50 sq.m.
Lead Architect : Dechophon Rattanasatchatham, Metee Moonmuang
Interior design : Yangnar studio
Construction Supervisor : Metee Moonmuang

Show More

แบบบ้านร้อยเเปด

เว็บไซต์ babbaan108.com เป็นเพียงสื่อกลางในการแบ่งปันไอเดียเกี่ยวกับบ้านและการจัดสวนให้เพื่อนๆได้ชมเท่านั้น มิได้รับสร้างบ้านหรือออกแบบบ้านใดๆทั้งสิ้น และเราจะสรรหาไอเดียดีๆมาแบ่งปันเพื่อนๆทุกวัน ขอขอบคุณที่ติดตามกันนะคะ

Related Articles

Back to top button